วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555



นาย ปัณณวัฒน์ โสภาพ เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5

บ้านเลขที่ 445/1 ถนนลาดพร้าว เขต/แขวง วังทองหลาง 10310

เบอร์โทร 082-086-8702 E-Mail Numlock14@hotmail.com

แนะนำคอมพิวเตอร์



ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์






ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์






1. หน่วยรับข้อมูลป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่ กล้อง แป้นคีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ ก้านควบคุม เครื่องซีดีรอม




2. หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยนี้เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน ภายในบรรจุไว้ด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการทำงาน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit: ALU)






3. หน่วยความจำ ใช้ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างทั้งที่นำเข้ามา และแบบที่มีการประมวลผลแล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำภายใน แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ ROM(Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่มีการผลิตแล้วบันทึกหน่วยความจำมาที่ ROM เก็บไว้ เช่น ROM ที่ติดตั้งไว้ที่เมนบอร์ด ใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานสัมพันธ์กัน หรือที่เรียกว่า BIOS โดย ROM นี้จะไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงเก็บลงไปได้ และเมื่อปิดเครื่องข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะไม่สูญหาย RAM (Random Access Memory) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล ที่เกิดในขณะปฏิบัติงาน เช่นการสั่งงานเมื่อมีการคลิกเมาส์เพื่อสั่งคำสั่งต่างๆ โดย RAM จะจดจำข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่มีการสั่งงานตลอดเวลาที่เครื่องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านี้ก็จะหายไป
หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำภายนอก ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เมื่อหน่วยความจำหลักไม่สามารถรับข้อมูลได้ หรือใช้บันทึกข้อมูลก่อนมีการปิดเครื่อง เพราะหน่วยความจำหลักในส่วนของ แรม จะทำการลบข้อมูลทุกครั้งที่มีการปิดเครื่อง ดังนั้นถ้าข้อมูลมีความสำคัญจึงต้องมีการบันทึก จากหน่วยความจำหลักมาสู่หน่วยความจำสำรอง เช่น Hard disk Diskette CD-ROM DVD-ROM เป็นต้น








4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการแสดงผล ซึ่งจะส่วนที่แสดงผลออกมา กล่าวคือหลังจากที่มีการรับข้อมูลต่างๆที่ได้จากการประมวลผลที่ผู้ใช้ต้องการ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผล เช่น จอดภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) ลำโพง (Speaker) เป็นต้น









ซอฟต์แวร์ (Software)


หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะช่วยในการแก้ปัญหาจากต้นจนจบ ทำงานรายละเอียดทุกขั้นตอน โปรแกรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในซีพียู หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม

ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ Window 95 , Windows 98และระบบปฏิบัติการ Linux , Dos และจะมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ








2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูป ของบริษัทต่าง ๆ ออกมาใช้งาน เช่น Excel , Photoshop และOracle เป็นต้น
โปรแกรมประยุกต์มีทั้งโปรแกรมที่เขียนขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูป














แนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์


Photoshop CS5



Photoshop CS5 ที่น่าสนใจ

1 . หน้าตาที่เปลี่ยนแปลงไป

ถ้าเราเปรียบเทียบหน้าตาของ Photoshop CS4 กับ Photoshop CS5 จะเห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่ถ้าไปเปรียบเทียบกับ Photoshop CS3 หรือเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ต่ำลงมาก ก็จะพบว่าแตกต่างกันค่อนข้างมาก (แต่เป็นในทางที่ดีและสวยงาม)

2 . อัพเดทให้ทันสมัยคล้ายกับ Windows 7

จะพบว่าการใช้งานหลายๆ อย่างของ Photoshop CS5 จะมีความคล้ายคลึงกับ Windows 7 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแสดง Thumbnails บน Taskbar เพื่อแสดงฉบับย่อก่อนการคลิกเข้าไปดูจริง หรือเทคนิคการขยายหน้าต่างให้เต็มโดยการเลือกไปวางด้านบนหน้าของจอ เป็นต้น

3 . Mini Bridge

ตัวช่วยอย่างหนึ่งของผู้ใช้งาน Adobe Photoshop ในเวอร์ชั่นก่อนคือ Adobe Bridge ซึ่งใช้สำหรับการแสดงภาพในลักษณะเดียวกับ Windows Explorer แต่นี่แสดงบน Photoshop โดยตรง ทำให้เราสามารถบริหารจัดการภาพได้ง่ายขึ้น แต่ปัญหาก็คือกินทรัพยากรของเครื่องมาก ทำให้เครื่องทำงานช้า แต่วันนี้มี Mini Bridge ให้ใช้งานเพิ่มเข้ามา น่าจะถูกใจอีกหลายๆ คน

4 . ทำภาพเอียงให้ตรง

กรณีเรามีภาพเอียง เราสามารถให้ Photoshop ปรับภาพให้ตรงได้อัตโนมัติ โดยใช้คำสั่ง Ruler Tool และเลือกตำแหน่งสองจุดที่เอียง เพื่อให้ปรับภาพให้ตรง ?

5 . ปรับแขนขาเหมือนหุ่น

อีกหนึ่งความสามารถใหม่ และดูจะเป็นความสามารถที่ค่อนข้างเด่นมากๆ นั่นคือ การปรับแขนขาของภาพ (ไม่จำเป็นต้องเป็นภาพคนก็ได้) สามารถปรับได้เช่นเดียวกับการปรับหุ่นเลยครับ สนใจต้องไปลองใช้คำสั่ง Puppet Warp (อยู่ในคำสั่ง Edit)

6 . ลบภาพที่ไม่ต้องการออกแบบเนียนๆ

หลายๆ ครั่งรูปภาพที่เราถ่าย หรือภาพจากอินเตอร์เน็ต บางครั้งเรามีความจำเป็นจะต้องเอาบางส่วนของภาพออก การ retouch ภาพก็ต้องใช้เวลามากพอสมควร แต่วันนี้ Photoshop CS5 มีเครื่องมือเด็ดๆ ที่จะทำให้เราสามารถลบภาพที่ไม่ต้องการออกง่ายๆ โดยใช้คำสั่ง Content-Aware

7 . HDR (High Dynamic Range)

สำหรับนักถ่ายภาพโดยเฉพาะ เพราะความสามารถนี้จะใช้สำหรับการถ่ายภาพในสภาพแสงที่มืดและสว่าง จากนั้นก็ใช้ Photoshop ช่วยรวมภาพเพื่อให้ได้รายละเอียดของภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น (ซึ่งปกติจะไม่สามารถถ่ายด้วยกล้องได้) คำสั่งนี้จะอยู่ที่หัวข้อ Automate Merge to HDR Pro

8 . Lens Corrections

อีกหนึ่งความสามารถใหม่สำหรับนักถ่ายภาพโดยเฉพาะ การนำภาพจากกล้องดิจิตอลเข้ามาแก้ไขใน Photoshop สิ่งหนึ่งที่อาจมีความผิดเพี้ยนไปบ้าง โดยเฉพาะกับการนำไฟล์ประเภท RAW มาใช้และมีการแปลงเป็น ?Jpeg ผลลัพธ์ที่ได้อาจผิดไปบ้างจากต้นฉบับ เนื่องจากไฟล์ RAW ของแต่ละกล้อง ก็จะมีเทคนิดในการจัดเก็บแตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้น Photoshop CS5 จึงมีการรวมรวบวิธีการของแต่กล้องมา เพื่อให้เวลาดึงภาพมาใช้งาน จะได้ผิดพลาดน้อยที่สุด คำสั่งนี้อยู่ในหัวข้อ Filter ครับ

9 . เลือกบางส่วนได้ง่ายขึ้น

เวลาเราตกแต่งภาพ ขั้นตอนหนึ่งที่เป็นปัญหามากๆ ก็คือ การเลือกบางส่วนของภาพ หรือที่เราเรียกว่า Selection ทั้งนี้เพื่อจัดการในส่วนที่เราเลือก ไม่ว่าจะเป็นการลบภาพ ปรับแต่งสีสรร หรือการทำซ้ำ เพื่อไปใช้กับภาพหรืองานอื่นๆ คำสั่งนี้ก็คือ Quick Selection Tool ซึ่งปกติหลายๆ คนรวมทั้งผมด้วย มักจะใช้ Magic Wand Tool ซะมากกว่า




ประวัติส่วนตัว

นาย ทรงพล วรวัย ชื่อเล่น หมู

วันเกิด 10 ก.ค. 2538 อายุ  17 ปี

อาหารที่ชอบ กินแม่งได้ทุกยางครับ

เบอร์โทรศัพท์ 0865598704

email Seesoas15@ Hotmail.com

ประวัติอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร

อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่าย เดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามา ในเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)
สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Interและคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Netมาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

ประวัติความเป็นมา

- อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ(U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
-ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็นDARPA(Defense Advanced Research Projects Agency)พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง

และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละ ชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518)จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPAได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internetซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
-ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internetจนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IPลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุกplatform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
-การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529)เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database)อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider)ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.thจะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPAได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533)และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF)เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain nameก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
- ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้ เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูล ได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมาย ให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล