วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำคอมพิวเตอร์



ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์






ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์






1. หน่วยรับข้อมูลป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่ กล้อง แป้นคีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ ก้านควบคุม เครื่องซีดีรอม




2. หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยนี้เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน ภายในบรรจุไว้ด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการทำงาน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit: ALU)






3. หน่วยความจำ ใช้ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างทั้งที่นำเข้ามา และแบบที่มีการประมวลผลแล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำภายใน แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ ROM(Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่มีการผลิตแล้วบันทึกหน่วยความจำมาที่ ROM เก็บไว้ เช่น ROM ที่ติดตั้งไว้ที่เมนบอร์ด ใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานสัมพันธ์กัน หรือที่เรียกว่า BIOS โดย ROM นี้จะไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงเก็บลงไปได้ และเมื่อปิดเครื่องข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะไม่สูญหาย RAM (Random Access Memory) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล ที่เกิดในขณะปฏิบัติงาน เช่นการสั่งงานเมื่อมีการคลิกเมาส์เพื่อสั่งคำสั่งต่างๆ โดย RAM จะจดจำข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่มีการสั่งงานตลอดเวลาที่เครื่องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านี้ก็จะหายไป
หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำภายนอก ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เมื่อหน่วยความจำหลักไม่สามารถรับข้อมูลได้ หรือใช้บันทึกข้อมูลก่อนมีการปิดเครื่อง เพราะหน่วยความจำหลักในส่วนของ แรม จะทำการลบข้อมูลทุกครั้งที่มีการปิดเครื่อง ดังนั้นถ้าข้อมูลมีความสำคัญจึงต้องมีการบันทึก จากหน่วยความจำหลักมาสู่หน่วยความจำสำรอง เช่น Hard disk Diskette CD-ROM DVD-ROM เป็นต้น








4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการแสดงผล ซึ่งจะส่วนที่แสดงผลออกมา กล่าวคือหลังจากที่มีการรับข้อมูลต่างๆที่ได้จากการประมวลผลที่ผู้ใช้ต้องการ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผล เช่น จอดภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) ลำโพง (Speaker) เป็นต้น









ซอฟต์แวร์ (Software)


หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะช่วยในการแก้ปัญหาจากต้นจนจบ ทำงานรายละเอียดทุกขั้นตอน โปรแกรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในซีพียู หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม

ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ Window 95 , Windows 98และระบบปฏิบัติการ Linux , Dos และจะมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ








2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูป ของบริษัทต่าง ๆ ออกมาใช้งาน เช่น Excel , Photoshop และOracle เป็นต้น
โปรแกรมประยุกต์มีทั้งโปรแกรมที่เขียนขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูป














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น